Thai | English
  Health & Care
Birmingham Children's Hospital NHS Foundation Trust และโครงการ NHS Numbers for Babies (NN4B)

Birmingham Children's Hospital NHS Foundation Trust และโครงการ NHS Numbers for Babies (NN4B)

โครงการ NHS Number for Babies (NN4B) เป็นแรงกระตุ้นให้โรงพยาบาลต่างๆหันมาใช้บาร์โค้ดของ GS1 เพื่อให้แน่ใจว่าเวลาทำการทดสอบเพื่อตรวจหา โรคให้กับเด็กแรกเกิดจะสามารถชี้ตัวทารกได้ถูกต้อง บาร์โค้ดของ GS1 ยังช่วยให้สามารถติดตามความเป็นไปของทารกในระบบบริการสาธารณสุขได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เลขหมาย NHS เฉพาะตัว Birmingham Children's Hospital NHS Foundation Trust ได้นำบาร์โค้ดของ GS1 ไปใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจหาโรคของเด็กแรกเกิดด้วยการเจาะเลือด เพื่อให้แน่ใจว่าจับคู่ทารกกับผลการทดสอบได้ถูกต้อง
img 006.jpgความเป็นมา
          บริการ NHS Number for Babies (NN4B) เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ 29  ตุลาคม  2002 บริการนี้ทำให้สามารถติดตามความเป็นไปของทารกทุกรายที่เกิดในอังกฤษ เวลส์ และไอล์ออฟแมน โดนอาศัยเลขหมาย  NHS เฉพาะตัวที่ออกให้เด็กแต่ละคนหลังเกิดได้ไม่นาน และเป็นเลขหมายที่จะอยู่กับตัวไปตลอดชีวิต
          หลังคลอดไม่นาน ทารกจะได้เลขหมาย NHS ประจำตัว โดยผู้ทำคลอด และเจ้าหน้าที่แผนกสูติกรรมทำเรื่องขอเลขหมายผ่านบริการเครือข่าย คอมพิวเตอร์ แต่เดิมจะต้องรอจนกว่าจะแจ้งเกิด จึงจะได้เลขหมาย NHS ซึ่งอาจนานถึง
6 สัปดาห์หลังคลอด เลขหมาย NHS ที่ออกให้เด็กแรกเกิดได้เร็ว จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการชี้เฉพาะตัว เป็นการง่ายที่จะจับคู่ทารกกับผลตรวจเลือด ตรวจเช็คคุณภาพของการดูแลพัฒนางานวิจัยเด็กแรกเกิด และทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กแรกเกิดจะบันทึกไว้ในรูปแบบ เดียวกัน และสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้แน่ใจในการรักษาพยาบาลที่ได้คุณภาพและมีความต่อเนื่อง
          National Screening Committee เห็นควรให้ทำการทดสอบเด็กแรกเกิด เพื่อตรวจหาโรค 5 ชนิด:ระบบเผาผลาญผิดปกติ (phenylketonuria) ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง (congenital hypothyroidism) เม็ดเลือดแดงผิดปกติ (sickle cell disease) โรคเกี่ยวกับปอด (cystic fibrosis) และการที่ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานไม่ได้ (medium-chain acyl-CoA dehydrogenase deficiency) การเจาะเลือดทำโดยจิ้มที่ส้นเท้าของทารกให้เลือดหยดลงบนกระดาษแผ่นกรอง เมื่อแห้งจะปรากฏเป็นหยดเลือดหลายๆจุด แผ่นกรองนี้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติกาตรวจหาโรคในทารก สำหรับทำการทดสอบเพื่อตรวจหาโรคทั้ง 5 ชนิด ซึ่งสามารถแก้ไขได้หากตรวจพบเร็วในอดีต ปัญหาหนึ่งในการตรวจหาโรคในเด็กแรกเกิด คือ การติดตามทารกในระบบ เพือให้แน่ใจว่าได้ผ่านการตรวจแล้ว ก่อนที่จะมีบริการ NN4B วิธีเดียวที่ทำได้ คือ การตรวจสอบจากชื่อและข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพราะยังไม่มีเลขหมาย NHS ให้ทารกในวัยที่ทำการทดสอบ (5-8 วัน) วิธีกาตรวจสอบจากชื่อนั้นเสี่ยงกับการจับคู่ผลการทดสอบกับทารกผิดราย เนื่องจากหลังคลอดทั้งชื่อและที่อยู่ของทารกอาจมีการเปลี่ยนแปลง จึงใช้ยึดถือไม่ได้เสมอไป
 
        
          บาร์โค้ดในโครงการ NN4B
          การใช้ป้ายที่มีบาร์โค้ดนั้น ก็เพื่อให้แน่ใจด้วยว่าห้องปฏิบัติการทดสอบได้รับ แผ่นกรองกระดาษที่มีหยดเลือดพร้อมกับป้ายที่มีเลขหมาย NHS ในรูปของบาร์โค้ดของ GS1 และในรูปที่คนอ่านออก นอกเหนือจากจุดประสงค์หลักที่ต้องการให้แผนกสูติกรรม สามารถจัดพิมพ์สติ๊กเกอร์ที่มีบาร์โค้ดเลขหมาย NHSพร้อมที่อยู่สำหรับติดบนบันทึก สุขภาพของเด็ก (personal child healthrecord หรือ PCHR) เพื่อมอบให้กับผู้เป็นแม่ ก่อนการจำหน่ายออกจากแผนกสูติกรรม
          รหัสสากลเฉพาะตัวของ GS1 ที่ NHS ใช้สำหรับโครงการนี้ คือ Global Service Relation Number (GSRN)
ซึ่งประกอบด้วย รหัสบ่งชี้ NHSCFH ของ GS1  เลขหมาย NHS และ Check digit เพื่อ ให้แน่ใจว่าองค์ประกอบจัดเรียงไว้อย่างถูกต้อง เมื่อมีป้ายตามแบบของ NN4B เพื่อใช้ในงานทดสอบเลือดแล้ว ป้ายข้อมูลและที่อยู่ของเด็ก ที่เขียนด้วยลายมือของเจ้าหน้าที่แผนกสูติกรรมก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เท่ากับเป็นการ ประหยัดเวลา ลดความผิดพลาดในการคัดลอกข้อมูลในห้องแล็บได้ด้วย
         
            วิธีการของ NN4B ที่ Birmingham Children's Hospital
            ห้องแล็บของ Birmingham Children's Hospital ทำการทดสอบเลือดของ เด็กแรกเกิด ปีละ 70,000 ราย เพื่อตรวจหาโรค 5 ชนิด ตามที่ National Screening Committee เห็นควร ห้องแล็บนี้เป็น 1 ใน 13 แล็บของอังกฤษที่ทำการตรวจเลือด ทารกจาก Primary Care Trust จากทั้งหมด 17 แห่งที่อยู่ในแถบ West Midlands SHA
          โดยปกติก่อนที่โรงพยาบาลจะจำหน่ายทารก ผู้เป็นแม่จะได้รับบันทึกสุขภาพของเด็ก (PCHR) หรือที่เรียกกันว่า
 "red book" ซึ่งจะมีป้ายบาร์โค้ดของ GS1 ติดมาด้วย 1 ชุด หลังจากเด็กกลับไปอยู่บ้านแล้ว เมื่อเด็กอายุได้ 5-8 วัน แผนกสูติกรรมจะตามไปเจาะเลือดเพื่อนำไปทดสอบ เมื่อหยดเลือดบนกระดาษแผ่นกรองแล้ว จะทำการติดป้ายที่มีบาร์โค้ดก่อนส่งไปยังห้องแล็บของ Birmingham Children's Hospital เจ้าหน้าที่ประจำห้องแล็บจะสแกนป้ายบาร์โค้ดหาเลขหมาย NHS เพื่อใช้ดึงข้อมูลเด็กเข้าสู่ระบบของโรงพยาบาล
          ห้องแล็บตรวจเลือดของโรงพยาบาลนี้เป็นเพียงแห่งเดียวในอังกฤษที่เชื่อม โดยตรงกับระบบของ Child Health Record Department ทำ ให้สามารถดึงข้อมูลจากส่วนกลางเข้าส่ะบบของโรงพยาบาลได้ เมื่อการทดสอบเลือดเสร็จสมบูรณ์ จะมีการบันทึกผลการทดสอบในระบบของห้องแล็บ และผลดังกล่าวจะถูกส่งทางอิเล็คทรอนิคส์ไปยัง Child Health Record Department  ด้วยวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพนี้ ทำให้สามารถลดงานด้านธุรการและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นลงไปได้มาก
          ปัจจุบัน ห้องแล็บตรวจเลือดเด็กแรกเกิดแห่งอื่นๆในอังกฤษ ยังคงใช้วิธีเขียนกำกับกระดาษแผ่นกรองทดสอบที่ได้จากแผนกสูติกรรมด้วยลายมือ จากนั้นจึงป้อนข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์พิมพ์ผลการตรวจเพื่อส่งให้ Child Health Record Department ทางไปรษณีย์ และที่นั่นจะทำการป้อนผลเข้าระบบอีกครั้ง วิธีการที่เขียน และพิมพ์ข้อมูลด้วยมือ มีโอกาสผิดพลาดในการรคัดลอกสูง ห้องแล็บของโรงพยาบาลเด็ก Birmingham กำลังพยายามให้แผนกสูติกรรมทุกแห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบแถบ West Midlands ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพื่อให้สามารถพิมพ์ป้ายบาร์โค้ดของ GS1 ได้  โรงพยาบาลแห่งนี้ช่วยเหลือทุก Trust  ในความรับผิดชอบ โดยสนับสนุนและแนะแนวทางในการนำไปใช้งานด้วยการทำ "West Midlands pilot project"  ร่วมกัน โครงการนี้ได้รับความช่วนเหลือและการสนับสนุนทางการเงินจาก National Screening Committee
 
แหล่งที่มา : สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
                แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Health & Care
- BPA คืออะไร
- เทคนิคการนวด
- ลูกจะเป็นอย่างไร ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของพี่ๆ
- 'กระดูกสันหลังคด' โรคที่อาจมากับ 'เด็กแรกเกิด'
- ขวดนมแบบไหน? ถึงจะโดนใจหนู
- เรื่องน่ารู้ของ
- ใช้
- ส่งลูกเข้าเรียน "วิถีพุทธ" ใครว่าเด็กจะล้าหลังคร่ำครึ!
- เมื่อลูกเป็น "โรค ภูมิแพ้"
- หนูอายจัง...ทำยังไงดี
View all

  Baby Product   Blog   About us   Address
  •   Athena Metis Co., Ltd.
  •   A M C (Thailand) Co., Ltd.
  •   50/41 Moo 13, Putthamonthon Sai 5
  •   Raikhing, Sampran,
  •   Nakornprathom 73210 Thailand
  •   Tel: +66 (0)2 019 9887
  •   Fax: +66 (0)2 019 9878
  •   E-mail: info@happybabito.com
HappyBabito Copyright 2010 Athena Metis Co., Ltd. All Rights Reserved. Babito is a trademark owned by Athena Metis Co., Ltd.
Engine by MAKEWEBEASY