Thai | English
  Health & Care
ตา ยาย รับหลานเป็นบุตรบุญธรรม แล้วพ่อที่แท้จริงยังต้องเลี้ยงดูอีกหรือไม่

ตา ยาย รับหลานเป็นบุตรบุญธรรม แล้วพ่อที่แท้จริงยังต้องเลี้ยงดูอีกหรือไม่

ใน สังคมไทยมีเรื่องที่พบเห็นกันมากกับการที่ตา ยายต้องเป็นคนเลี้ยงดูบุตรหลานแทนพ่อแม่ที่แท้จริง เพราะปัญหาปัจจุบันของชายหญิงที่ครอบครัวแตกแยกทำให้บุตรที่เกิดมาต้องตก เป็นผู้รับกรรม แต่ถ้าตัวบุตรเองจะทวงสิทธิการเป็นพ่อลูกที่แท้จริงและทวงถามความรับผิดชอบ จากพ่อที่แท้จริงจะทำได้หรือไม่อย่างไร
 0005.jpg ครอบครัวของนายเย็น กับ ครอบครัวของนางชื่น ได้ติดต่อให้ทั้งคู่ได้แต่งงานกันตามประเพณี และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผย แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ด.ญ.ใจ ต่อมาอีก 2 ปี นายเย็นและนางชื่น มีปากเสียงกันอย่างรุนแรงเนื่องจากทั้งสองฝ่ายอยู่กินกันโดยมิได้ชอบพอกันมา แต่แรก ในที่สุดนางชื่นก็ย้ายออกจากบ้านของนายเย็นซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกันไปอาศัยอยู่ ที่บ้านของบิดามารดาที่จังหวัดลพบุรี บิดามารดาของนางชื่นซึ่งเป็นตายายของด.ญ.ใจ เมตตาหลานสาวเป็นอย่างมาก จึงขอนางชื่นให้ยกด.ญ.ใจ มาเป็นบุตรบุญธรรมของตากับยาย นางชื่นยินยอมและด.ญ.ใจก็รักตากับยายมาเช่นกัน ตาและยายจึงได้พาด.ญ.ใจไปจดทะเบียนรับด.ญ.ใจเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ซึ่งในระหว่างที่ด.ญ.ใจอยู่กับตาและยายนั้นนายเย็นไม่เคยเหลียวแลหรือห่วงใย ด.ญ.ใจและไม่เคยไปเยี่ยมเยียน ทั้งที่รู้ว่านางชื่นและด.ญ.ใจ ไปอยู่ที่ใด ทั้งไม่ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ด.ญ.ใจแต่ประการใด
       
       อย่าง ไรก็ดี นางชื่นเคยติดต่อทวงถามให้นายเย็นช่วยเลี้ยงดูด.ญ.ใจแต่นายเย็นก็เพิกเฉย นางชื่นมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้นายเย็นไปจดทะเบียนรับด.ญ.ใจเป็น บุตรและให้ชำระค่าเลี้ยงดูในอัตราเดือนละ 20,000 บาท นายเย็นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วก็เพิกเฉย นางชื่นจึงร่วมกับด.ญ.ใจเป็นโจทก์ฟ้องนายเย็นขอให้นายเย็นจดทะเบียนรับด. ญ.ใจเป็นบุตร และให้นายเย็นจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูด.ญ.ใจในอัตราเดือนละ 20,000 บาท
       
       นายเย็นให้การว่าตาและยายของ ด.ญ.ใจได้จดทะเบียนรับด.ญ.ใจเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว นายเย็นจึงไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและรับด.ญ.ใจเป็นบุตรของตนอีก นางชื่นและด.ญ.ใจจึงไม่มีอำนาจที่จะร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องตนได้ เพราะ ด.ญ.ใจอยู่ในความอุปการะของตาและยายแล้วนางชื่นจึงไม่ได้เป็นผู้แทนโดยชอบ ธรรมของด.ญ.ใจอีกต่อไป ขอให้ยกฟ้อง
       
       กรณีตามข้อเท็จ จริงดังกล่าวศาลจะพิจารณาคดีนี้อย่างไร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ด.ญ.ใจเป็นบุตรของนางชื่นกับนายเย็น แม้มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันก็ต้องถือว่าด.ญ.ใจเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ของนางชื่นซึ่งเป็นมารดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1546 "เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ หญิงนั้น"
 
106.jpg และ แม้จะได้ความว่า ด.ญ.ใจ ไปอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของตาและยาย โดยตาและยายได้จดทะเบียนรับด.ญ.ใจเป็นบุตรบุญธรรมแล้วหาได้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของ ด.ญ.ใจ ซึ่งนำคดีมาฟ้องตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1556 นั้น บัญญัติให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้แต่ต้องกระทำในฐานะ ผู้ฟ้องแทน ตามป.พ.พ. มาตรา 1556 "การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน"
       
       เมื่อ เป็นเช่นนี้ ด.ญ.ใจ จึงมีอำนาจฟ้องให้นายเย็นรับด.ญ.ใจเป็นบุตร และถือตามข้อเท็จจริงที่รับกันแล้วว่าด.ญ.ใจเป็นบุตรของนายเย็น นายเย็นจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ด.ญ.ใจ เมื่อคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ให้เหมาะสมตามสถานภาพของทั้งสองฝ่ายแล้วให้นายเย็นจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แก่ ด.ญ.ใจ เดือนละ 10,000 บาท จนกว่าด.ญ.ใจจะบรรลุนิติภาวะ ยกฟ้องนางชื่น (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 3290/2545)
       
       ดัง นั้น การที่ตายายจดทะเบียนรับด.ญ.ใจเป็นบุตรบุญธรรมไม่ทำให้หน้าที่ความรับผิดชอบ ในฐานะบิดาที่แท้จริงของนายเย็นหมดไป เมื่อศาลพิพากษาว่าด.ญ.ใจเป็นบุตรของนายเย็น สถานะของด.ญ.ใจซึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบิดามารดามิได้จด ทะเบียนสมรสกันก็กลับมาเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษา ก่อให้เกิดหน้าที่ของบิดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายจนกว่าบุตรจะ บรรลุนิติภาวะ นายเย็นจึงมีหน้าที่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูด.ญ.ใจตามกฎหมายนั่นเอง
       
       ส่วน นางชื่นถูกยกฟ้องในฐานะส่วนตัว เพราะการฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตรเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของ บุตรโดยเฉพาะ เพียงแต่ในกรณีที่บุตรยังมีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนเท่านั้น นางชื่นซึ่งถือว่าเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามป.พ.พ. มาตรา 1546 จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ญ.ใจตามกฎหมาย นางชื่นจึงทำได้เพียงเป็นผู้ฟ้องแทนด.ญ.ใจเท่านั้น ไม่อาจฟ้องในนามส่วนตัวได้
       
บทความจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ / life & family ฉบับวันที่ 21 มิถุนายน 2553
Health & Care
- BPA คืออะไร
- เทคนิคการนวด
- ลูกจะเป็นอย่างไร ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของพี่ๆ
- 'กระดูกสันหลังคด' โรคที่อาจมากับ 'เด็กแรกเกิด'
- ขวดนมแบบไหน? ถึงจะโดนใจหนู
- เรื่องน่ารู้ของ
- ใช้
- ส่งลูกเข้าเรียน "วิถีพุทธ" ใครว่าเด็กจะล้าหลังคร่ำครึ!
- เมื่อลูกเป็น "โรค ภูมิแพ้"
- หนูอายจัง...ทำยังไงดี
View all

  Baby Product   Blog   About us   Address
  •   Athena Metis Co., Ltd.
  •   A M C (Thailand) Co., Ltd.
  •   50/41 Moo 13, Putthamonthon Sai 5
  •   Raikhing, Sampran,
  •   Nakornprathom 73210 Thailand
  •   Tel: +66 (0)2 019 9887
  •   Fax: +66 (0)2 019 9878
  •   E-mail: info@happybabito.com
HappyBabito Copyright 2010 Athena Metis Co., Ltd. All Rights Reserved. Babito is a trademark owned by Athena Metis Co., Ltd.
Engine by MAKEWEBEASY