Thai | English
  Health & Care
สอนลูกน้อยซึมซับหลักธรรมง่ายๆ ใกล้ตัวลูก

สอนลูกน้อยซึมซับหลักธรรมง่ายๆ ใกล้ตัวลูก

    ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่า งานเลี้ยงลูกในสังคมยุคใหม่ หากไม่มีหลักธรรมในการเลี้ยงลูก เด็กอาจขาดเกราะคุ้มกันทางจิตใจ ซึ่งมีโอกาสเจ็บป่วยทางใจได้ง่าย ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วยรักอย่างเดียวไม่พออีกต่อไปแล้ว แต่ต้องมีหลักธรรมสอดแทรก เพื่อให้งานเลี้ยงลูกออกมามีคุณภาพ
    553000013267801.jpgในเรื่องนี้ พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้ อำนวยการสถาบันราชานุกูล บอกถึงการเลี้ยงลูกด้วยรัก และหลักธรรมว่า พ่อแม่มีหน้าที่ปลูกฝังความดี และความงามให้กับลูก เริ่มจากปฏิบัติต่อกันด้วยความอ่อนโยน พอถึงช่วงวัยหนึ่งเด็กต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ต้องอาศัยธรรมะเป็นเครื่อง มือ โดยพ่อแม่สอนลูกได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบครึ่ง-2 ขวบ
       
       "เรา สังเกตพบว่าเด็กในวัยนี้ มีความสามารถที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นตามวัย ซึ่งเขาทำอะไรได้ด้วยตัวเองเกือบทั้งหมดแล้ว ทั้งกิน นอน เดิน หยิบของ จะคว้า จะปีน เรียกว่า critical period ซึ่งเมื่อใดที่ความเป็นตัวตนของเขาเกิดขึ้นชัดเจนเราต้องใส่เรื่องธรรมะเข้า ไปทันที เพื่อป้องกันการที่เขามีพฤติกรรมเบียดเบียนคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ" พญ.พรรณพิมลกล่าว
       
       อย่าง ไรก็ดี จากประสบการณ์การทำงานด้านเด็ก สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนอยากเห็นลูกเป็นคือ การที่ลูกเป็นคนดี แต่ความต้องการของพ่อแม่ กลับขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ตัวพ่อแม่เองไม่ค่อยจะใช้เวลาอยู่กับลูกเท่า ที่ควร โดยเฉพาะการอ่านหนังสือกับลูก ที่ถือเป็นสื่อกลางในการช่วยดึงสติทั้งของพ่อแม่และลูกกลับคืนมาได้
       
       "หนังสือ ช่วยทำให้หลายสิ่งหลายอย่างที่พ่อแม่มักหลงลืมกลับคืนมา พร้อมกับสะท้อนความเป็นต้นแบบเพื่อจะได้ทำให้ลูกเห็น และช่วยสอนสิ่งต่างๆ ให้ลูกเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นด้วย ที่สำคัญเวลาที่สอนเรื่องนามธรรมกับเด็ก ความเข้าใจของลูกจะค่อยๆ เป็นลำดับขั้นตอน ไม่ได้หมายความว่าเวลาอ่านหนังสือธรรมะให้ลูกฟัง ลูกจะต้องเข้าใจทันที เพราะมันคือการเรียนรู้ระหว่างพ่อแม่กับลูกที่ไม่มีวันสิ้นสุด มันเป็นชีวิตของครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน" ผอ.สถาบันราชานุกูลแนะนำ
       
       ด้าน คุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป หรือ ตุ๊บปอง ผู้ ทำงานด้านเด็กมานานกว่า 30 ปี เผยในประเด็นเดียวกันนี้ว่า ธรรมะไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ธรรมะเป็นธรรมชาติ เป็นเนื้อแท้ของคนทุกคน โดยธรรมะกับเด็ก เริ่มได้ตั้งแต่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ที่ต้องดูแลใจตัวเอง ปฏิบัติตนให้ดีเพื่อจะมีจิตใจที่สงบ เพราะการได้มีชีวิตหนึ่งที่ต้องใช้ลมหายใจกับเรา เมื่อแม่สุข ลูกก็จะสุขตามไปด้วย

    "ตัว คุณแม่ต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ทุกครั้งที่จะทำอะไรต้องไม่ประมาทขาดสติ และระมัดระวังทุกก้าวที่จะก้าว เพื่อไม่ให้คนที่อยู่เบื้องหน้าต้องเจ็บปวดเพราะเรา และเมื่อลูกคลอดออกมา แม่สามารถสอนธรรมะให้ลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด เช่น เวลาให้ลูกดูดนมแม่ ต้องอุ้มดึงปากลูกออกจากฐานนมแม่ประมาณหนึ่ง แล้วลูบหลังเบาๆ จากนั้นบอกว่า แม่เจ็บนะลูก แล้วค่อยให้กินต่อ เด็กก็จะเติบโตมาด้วยการเรียนรู้ตลอดเวลาว่า เขาจะไม่ทำให้คนที่อยู่เบื้องหน้าเจ็บปวดเพราะเขา
       
       หรือ แม้แต่เวลาที่คุณแม่อุ้มลูก แล้วลูกเราตบหน้าแม่โดยที่เด็กไม่รู้ตัวว่าเป็นการตบ หรือทึ้งผมเรา พ่อแม่หลายคนอาจปล่อยเลยตามเลย แต่จริงๆ แล้ว ต้องพูดให้ลูกฟังว่า ไม่เอานะลูก แม่เจ็บนะคะ นี่คือธรรมะเรื่องแรกๆ ที่สามารถสอนให้ลูกได้ เพื่อให้ลูกรู้ว่า เขาต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างไม่ไปทำร้ายคนอื่น เพราะวัยเด็ก เป็นวัยแห่งเมล็ดพันธุ์ที่งดงามที่พ่อแม่จะหย่อนธรรมะลงไปในใจของเขาได้ง่าย ที่สุด"
       
       อย่างไรก็ตาม คุณเรืองศักดิ์เห็นตรงกันกับพญ.พรรณพิมลที่บอกว่า หนังสือเป็นตัวช่วยสำคัญในการสอนลูกเรื่องธรรมะง่ายๆ ดังนั้นขอเพียงพ่อแม่มีความสุขที่ได้เลือกหนังสือ และสนุกที่ได้อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ไม่จ้องที่จะสอนอย่างเดียว เชื่อได้เลยว่า จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการอ่าน โดยเฉพาะหนังสือนิทานที่สอดแทรกธรรมะ จะเป็นตัวแทรกซึมไปในสมอง แล้วลูกก็จะได้รับสิ่งต่างๆ ที่ดีตามมาอีกมากมาย
       
       การ เลี้ยงลูกด้วยรัก และหลักธรรม เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนสามารถเข้าถึง และเข้าใจได้ไม่ยาก ด้วยการดึงวิถีชีวิตประจำวันมาเป็นตัวบ่มเพาะสอนลูก เริ่มตั้งแต่เล็กๆ เลยยิ่งดี เพราะถึงแม้ลูกจะยังไม่เข้าใจ แต่หากพ่อแม่พูดคุย และสอนเขาบ่อยๆ อย่างแยบยล เด็กก็จะค่อยๆ ซึมซับจนแสดงออกเป็นนิสัยที่น่ารักให้เห็นตามมา
 
บทความจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ / life & family ฉบับวันที่   8  กันยายน  2553
Health & Care
- BPA คืออะไร
- เทคนิคการนวด
- ลูกจะเป็นอย่างไร ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของพี่ๆ
- 'กระดูกสันหลังคด' โรคที่อาจมากับ 'เด็กแรกเกิด'
- ขวดนมแบบไหน? ถึงจะโดนใจหนู
- เรื่องน่ารู้ของ
- ใช้
- ส่งลูกเข้าเรียน "วิถีพุทธ" ใครว่าเด็กจะล้าหลังคร่ำครึ!
- เมื่อลูกเป็น "โรค ภูมิแพ้"
- หนูอายจัง...ทำยังไงดี
View all

  Baby Product   Blog   About us   Address
  •   Athena Metis Co., Ltd.
  •   A M C (Thailand) Co., Ltd.
  •   50/41 Moo 13, Putthamonthon Sai 5
  •   Raikhing, Sampran,
  •   Nakornprathom 73210 Thailand
  •   Tel: +66 (0)2 019 9887
  •   Fax: +66 (0)2 019 9878
  •   E-mail: info@happybabito.com
HappyBabito Copyright 2010 Athena Metis Co., Ltd. All Rights Reserved. Babito is a trademark owned by Athena Metis Co., Ltd.
Engine by MAKEWEBEASY